วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การจัดเก็บเอกสาร

การจัดเก็บเอกสาร (Filing system)ความหมายและความสำคัญของการจัดเก็บเอกสารการจัดเก็บเอกสาร ( Filing system) หมายถึง กระบวนการในการจำแนก จัดเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบเพื่อให้ความสำคัญของการเก็บเอกสารเมื่อธุรกิจให้ความสำคัญกับเอกสาร โดยถือว่าเอกสารเป็นเสมือนความจำของธุรกิจ และเอกสารใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่ต้องเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบหรือค้นคว้าในอนาคตแล้วดังนี้ ธุรกิจต้องมีการเก็บเอกสารที่ดี เพื่อรวบรวมเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบ เอกสารไม่ชำรุดเสียหาย สะดวกต่อการค้นหาเมื่อต้องการใช้ และมีวิธีการเก็บเอกสารที่เหมาะสมกับธุรกิจ ซึ่งผู้มีหน้าที่ในการเก็บเอกสารจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเก็บเอกสารเป็นอย่างดีด้วย ดังนั้น ก่อนจะเก็บเอกสารจะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าให้พร้อมโดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่เก็บเอกสาร อุปกรณ์สำหรับเก็บเอกสาร ระบบการจัดเก็บเอกสาร ขั้นตอนในการปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสาร เป็นต้นวัตถุประสงค์ของการเก็บเอกสารแหล่งเก็บเอกสารเปรียบเสมือนศูนย์ความจำของธุรกิจและเป็นที่รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ของธุรกิจไว้ทั้งหมด การที่ธุรกิจเก็บเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ไว้รวมกันก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. เพื่อรวบรวมเอกสารที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจัดเข้าไว้ให้เป็นหมวดหมู่และแหล่งเดียวกัน
2. เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการค้นหา
3. เพื่อให้เอกสารอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
4. เพื่อเก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในอนาคตองค์ประกอบในการเก็บเอกสารการเก็บเอกสารจะให้ได้ผลดีนั้นต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5 ประการคือ
1. เจ้าหน้าที่เก็บเอกสาร ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลรักษาเอกสารให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตลอดเวลา หน้าที่โดยตรงของพนักงานเก็บเอกสาร คือ มีหน้าที่เก็บรวบรวมเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ
2. เอกสาร ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของรูปภาพ ฟิล์ม ข้อความ แผ่นพับ ภาพโฆษณา จดหมาย ซึ่งเอกสารเหล่านี้ต้องเก็บรักษาเพื่อไว้ใช้เป็นหลักฐานต่อไป
3. ระบบการจัดเก็บ คือ ระบบหรือวิธีการจัดเก็บเอกสารให้เอกสารอยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน ซึ่งแต่ละบริษัทอาจจะมีระบบการเก็บเอกสารที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจนั้น แต่ไม่ว่าจะมีระบบการจัดเก็บวิธีใดก็ตาม จุดประสงค์ของระบบการจัดเก็บเอกสารก็คือ การจัดเอกสารให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน เอกสารไม่ชำรุดเสียหาย และค้นหาได้ทันทีเมื่อต้องการใช้
4. อุปกรณ์ในการจัดเก็บ การเก็บเอกสารจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย เพื่อให้การเก็บเอกสารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้การจัดเก็บเอกสารเป็นระเบียบสวยงาม อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บ เช่น แฟ้มเอกสาร ตู้เก็บเอกสาร ฯลฯ
5. สถานที่ในการเก็บ หมายถึง แหล่งเก็บเอกสาร ธุรกิจควรจะมีการจัดสถานที่ในการเก็บเอกสารอย่างเป็นสัดส่วนและเพียงพอ ห้องเก็บเอกสารควรเป็นห้องที่โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบร้าวจนเกินไป ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีคนพลุกพล่าน และต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องเก็บเอกสารด้วยพนักงานกับการเก็บเอกสารผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสาร มี 2 ฝ่าย คือ
1. ผู้จัดเก็บเอกสาร จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและมีความชำนาญในการจัดเก็บเอกสารตามระบบการเก็บเอกสารที่บริษัทของตนเองกำหนดไว้ พร้อมทั้งเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ มีระเบียบวินัย และรักงานด้านนี้ และมีอุปนิสัยรักการอ่านหนังสือ หน้าที่โดยตรงคือ เป็นผู้จัดเอกสารที่ได้รับเข้ามาเก็บเข้าแหล่งเก็บเอกสารอย่างถูกวิธี และจัดเก็บความเรียบร้อย ดูแลจัดการเกี่ยวกับเอกสาร บำรุงรักษาเอกสารให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ และคอยให้บริการแก่ผู้ที่มีความประสงค์จะขอใช้เอกสารด้วย
2. ผู้ใช้เอกสาร เป็นผู้นำเอกสารจากแหล่งเก็บเอกสารไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อการจัดเก็บเอกสาร เพราะผู้ใช้เอกสารต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของการใช้เอกสารที่ผู้จัดเอกสารได้กำหนดไว้ เพื่อให้เอกสารอยู่ในสภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลาระบบการเก็บเอกสารระบบการเก็บเอกสารของแต่ละหน่วยงานอาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน จำนวนเอกสารที่แตกต่างกัน และความเหมาะสม ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าระบบการเก็บเอกสารที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
1. การเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษร ( Alphabetic Filing ) เป็นวิธีการเก็บเอกสารที่นิยมมากที่สุด เป็นการเก็บเอกสารโดยเรียงตามตัวอักษร โดยดูจากชื่อบุคคล ชื่อบริษัท หรือห้างร้านก็ได้ ในการจัดเรียงลำดับนั้นจะต้องคำนึงถึงตัวพยัญชนะว่า พยัญชนะใดมาก่อนหลัง ซึ่งในภาษาไทยเรียงจาก ก – ฮ และในภาษาอังกฤษเรียงจาก A - Z
2. การเก็บเอกสารตามตัวเลข ( Numeric Filing ) เป็นวิธีการเก็บเอกสารโดยใช้ตัวเลขแทนชื่อบุคคล ชื่อบริษัท – ห้างร้าน โดยจะใช้ตัวเลขเป็นหลักในการจัดเก็บ
3. การเก็บเอกสารตามภูมิศาสตร์ ( Geographic Filing ) เป็นวิธีการเก็บเอกสารโดยใช้ชื่อสถานที่ตั้ง ประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยงานในการจัดเก็บ
4. การเก็บเอกสารตามชื่อเรื่อง ( Subject Filing ) เป็นการจัดเอกสารโดยใช้ชื่อเรื่องเป็นหน่วยในการจัดเก็บ โดยแยกเอกสารออกเป็นแต่ละเรื่อง แล้วจึงเรียงตามลำดับตัวอักษรอีกครั้งหนึ่ง
5. การเก็บเอกสารตามเสียง ( Soundex Filing ) ใช้ในระบบการเก็บเอกสารภาษาอังกฤษ โดยนำเอาชื่อที่มีเสียงคล้ายกันมารวมกันไว้ในที่เดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงตัวสะกด
6. การเก็บเอกสารตามสี ( Color Filing ) เป็นวิธีการเก็บจัดเก็บเอกสารที่ใช้สีเข้าช่วยในการเก็บ โดยอาศัยสีเป็นตัวจำแนกหมวดหมู่เอกสาร
7. การเก็บเอกสารตามปีปฏิทิน ( Chronological Filing ) เป็นวิธีการเก็บเอกสารตามวัน เดือน ปีปฏิทิน โดยอาศัยการเรียงลำดับวันที่ที่ได้รับเอกสารนั้น
8. การเก็บเอกสารด้วยไมโครฟิล์ม ( Microfiliming ) เป็นระบบการเก็บเอกสารโดยถ่ายย่อเอกสารลงบนแผ่นฟิล์ม เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและสะดวกในการค้นหา วิธีการเก็บด้วยไมโครฟิล์มนี้ถือว่าเป็นวิธีการเก็บเอกสารที่ดีที่สุด แต่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูงมาก
วิวัฒนาการ ความหมาย และความสำคัญของการจัดการเอกสาร
1. วิวัฒนาการของการจัดการเอกสาร ในระยะต้น การจัดการเอกสารทำด้วยมือ ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีด ต่อมามีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า (ค.ศ. 1932) เครื่องประมวลคำ และคอมพิวเตอร์เข้าสู่งานสำนักงานอย่างกว้างขวางและรวดเร็วนับแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ต่อไปเทคโนโลยีจะทำให้สำนักงานมีสภาพเป็นสำนักงานที่ไร้กระดาษ เพราะเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้หมด
2. ความหมายของการจัดการเอกสาร เป็นการดำเนินการเอกสารที่ใช้ในสำนักงานให้เป็นระบบ นับตั้งแต่การผลิต การใช้ การจัดเก็บ การค้นคืน และการกำจัด พร้อมทั้งการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารภายในสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ3. ความสำคัญของการจัดการเอกสาร ช่วยในการบริหารงานในยุคที่มีการแข่งขันกันทั่วโลก ช่วยลดเวลาและทรัพยากรในการดำเนินงาน เป็นหลักฐานกิจกรรมและการดำเนินงานของหน่วยงาน กฎหมาย เป็นเอกสารจดหมายเหตุการจัดการภาพกราฟิก
1. แบ่งตามแหล่งที่มาของเอกสาร เอกสารภายนอกสำนักงาน เช่น ใบสั่งซื้อจากลูกค้า ใบส่งสินค้าคืนจากลูกค้า เอกสารภายในสำนักงาน เช่น ประกาศวันหยุด หนังสือเวียนตามหน่วยงาน2. แบ่งตามสื่อที่จัดเก็บ กระดาษ ข้อดี มีความคุ้นเคย ใช้กันแพร่หลาย มีราคาถูก ข้อจำกัด ไม่คงทนถาวร สิ้นเปลืองพื้นที่จัดเก็บ ราคาจัดส่งแพง ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ มีความคงทน สามารถจัดเก็บข้อความ ภาพประกอบ ตารางได้ ข้อจำกัด ต้องใช้เครื่องอ่านโดยเฉพาะ ต้องเลื่อนอ่านตามลำดับวงจรเอกสารในสำนักงาน ประกอบด้วย1. การผลิตเอกสาร เป็นการผลิตเอกสาร ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเอกสารใหม่ ด้วยการพิมพ์ การเขียน การบอกจด และการจัดทำสำเนาเอกสาร
2. การเผยแพร่เอกสาร เป็นการจัดส่งเอกสารไปยังผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นผู้รับภายในหรือภายนอกสำนักงาน
3. การใช้เอกสาร เป็นการนำเอกสารไปใช้ในการดำเนินงาน
4. การจัดเก็บเอกสาร เป็นการจัดเก็บเพื่อการใช้งานต่อไป โดยมีการประเมิน และการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบระเบียบ
5. การกำจัดเอกสาร เป็นการประเมินคุณค่าเอกสารว่าเอกสารประเภทใด กลุ่มใด ที่เมื่อพ้นกระแสการใช้งานแล้วไม่จำเป็นต้องจัดเก็บต่อไป
วิวัฒนาการ ขั้นตอน และความสำคัญของระบบการผลิตเอกสาร
1. วิวัฒนาการของระบบการผลิตเอกสาร เริ่มจากการใช้เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องประมวลคำ เครื่องถ่ายเอกสาร ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปต่างๆ และระบบสำนักงานอัตโนมัติแบบบูรณาการ อุปกรณ์รับภาพกราฟิกประเภทอื่นๆ
2. ขั้นตอนและความสำคัญของระบบการผลิตเอกสาร การจัดเตรียมเอกสาร การพิจารณาวัตถุประสงค์ การจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ และการควบคุมการผลิตเอกสารและบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบประมวลคำและระบบดีทีพี
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบประมวลคำและระบบดีทีพี ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บเอกสาร เครื่องพิมพ์ และ ซอฟต์แวร์ อาจใช้ส่วนต่อประสานผู้ใช้เชิงกราฟิก (Graphical User Interface) ไวซิวิก (What You See Is What You Get,WYSIWYG) เวิรลด์ ไวด์ เว็บ
2. งานประมวลคำ เช่น โปรแกรมจุฬาเวิร์ด ไมโครซอฟต์เวิร์ด อามิโปร เป็นต้น ระบบประมวลผลคำ ยังสามารถช่วยให้มีการแก้ไขข้อความ การพิมพ์ การจัดรูปแบบเอกสาร และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ
3. งานดีทีพี ระบบดีทีพีเป็นระบบที่ใช้ในการผลิตเอกสารเช่นเดียวกับระบบประมวลคำ สามารถผลิตเอกสารที่มีคุณภาพและมีความสวยงามได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งไปจัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์ ซอฟต์แวร์เช่น เพจเมกเกอร์ เวนชูร่า ควาก เอกซ์เพรส ยังสามารถช่วยให้มีการแก้ไขข้อความ การพิมพ์ การจัดรูปแบบเอกสาร และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่นใช้เป็นเครื่องกราดภาพ เครื่องถ่ายภาพดิจิทัลการจัดทำสำเนาเอกสารในสำนักงาน1. ความสำคัญของการจัดทำสำเนาเอกสารการจัดทำสำเนาเอกสาร ช่วยให้สามารถเผยแพร่สารสนเทศที่อยู่ในรูปของเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบทบาทสำคัญต่อการสื่อสารทั้งภายนอกและภายในสำนักงาน และมีความจำเป็นต้องจัดส่งสารสนเทศ หรือข้อมูลไปยังสาธารณะ หรือผู้รับจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
2. เทคโนโลยีสำคัญในการจัดทำสำเนาเอกสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กระบวนการถ่ายภาพสำเนา โดยปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการเป็นเครื่องถ่ายเอกสารภาพสี และจัดเรียงหน้าเอกสารโดยอัตโนมัติและกระบวนการพิมพ์
วิวัฒนาการ ความหมาย และความสำคัญของระบบการจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร
1. วิวัฒนาการของระบบการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารระยะต้นของการจัดเก็บเอกสารภายในตู้เอกสาร ซึ่งปัญหาเรื่องพื้นที่จัดเก็บทำให้พยายามจัดเก็บเอกสารในรูปที่มีการใช้พื้นที่น้อยลง จึงมีการพัฒนาทั้งวิธีการจัดเก็บ เครื่องมือจัดเก็บ ปรับเปลี่ยนลักษณะของเอกสารมาอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีคอมพิวเตอร์พัฒนามารองรับความต้องการต่างๆ การจัดเก็บเอกสารจึงได้พัฒนาให้มีขนาดการจัดเก็บที่จำกัด มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานคงทนเป็นเวลานาน
2. ความหมายของการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในสำนักงานการจัดเก็บเอกสาร เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาและประเภทของเอกสารเพื่อใช้ในการจำแนกหมวดหมู่เอกสาร การจัดเก็บจะต้องเอื้อให้สามารถสืบค้นข้อมูลและใช้เอกสารได้ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารภายนอกหรือภายใน และไม่ว่าเอกสารที่เผยแพร่จะอยู่ในรูปกระดาษ วัสดุย่อส่วน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
3. ความสำคัญของการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในสำนักงาน จัดเก็บเอกสารที่จำเป็นต่อการดำเนินงานและการบริหารองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำกัดว่าเอกสารจะอยู่ในรูปแบบกระดาษ วัสดุย่อส่วน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ค้นคืนข้อมูลที่อยู่ในเอกสารและตัวเอกสารได้อย่างถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ สะดวก และมีประสิทธิภาพรักษาความปลอดภัยให้กับเอกสารตามลำดับความสำคัญของเอกสารและประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการจัดเก็บและค้นคืน และใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ วัสดุและทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะของการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในสำนักงาน
1. ลักษณะของการจัดเก็บเอกสารในสำนักงาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เอกสารที่อยู่ในกระแสงานเอกสารกึ่งกระแสการใช้งาน และเอกสารที่พ้นหรือสิ้นสุดกระแสการใช้งาน
2. ลักษณะของการค้นคืนเอกสารในสำนักงาน การค้นคืนข้อมูลที่ปรากฏในเอกสาร การค้นคืนตัวเอกสารต้นฉบับ
การจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในระบบสำนักงานอัตโนมัติ
1. รูปแบบการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูลเอกสาร เครือข่ายสื่อสารภายในองค์การ
2. ตัวอย่างการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในระบบสำนักงานอัตโนมัติ การค้นคืนข้อมูลจากเอกสารโดยไม่ต้องการดูเอกสารต้นฉบับต้นฉบับทั้งหมด การดึงข้อมูลจากเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง การพิมพ์ข้อมูลดัชนี หรือแอตทริบิวต์เข้าสู่ระบบการจัดการฐานข้อมูล และการค้นคืนข้อมูลจากเอกสารและต้องการดูเอกสารต้นฉบับทั้งหมด
3. ข้อควรคำนึงในการจัดเก็บและค้นคืนเอกสารในระบบสำนักงานอัตโนมัติ มาตรฐานในการจัดเก็บฐานข้อมูล และแผนการดำเนินงาน
ความหมายและประเภทของเอกสารเอกสาร (Documents) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เอกสารหมายถึง “หนังสือสำคัญ” เอกสารคือข้อความที่สามารถนำมาอ่าน แปล ตีความหรือใช้เป็นสิ่งอ้างอิง เพื่อการปฏิบัติงาน ใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อราชการหรือธุรกิจ เช่น จดหมายเข้า จดหมายออก รายงาหรือข้อมูลที่จัดทำขึ้น บันทึกใบสั่งซื้อสินค้า รูปภาพ คู่มือหรือเอกสารอื่นใด ซึ่งจัดทำขึ้นหรือใช้โดยหน่วยงาน เป็นต้น เป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่จัดทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร มีความหมายปรากฎออกมาในลักษณะของตัวอักษร ตัวเลข ภาพ หรือเครื่องหมายอื่นใดที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ และเป็นหลักฐานอ้างอิงในอนาคตได้ การติดต่อโดยเอกสารเป็นการติดต่อที่ถือว่าเป็นทางการ เป็นที่ยอมรับและมีหลักฐานไว้ใช้อ้างอิงในภายหลังเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานเอกสารเปรียบเหมือนหน่วยความจำของหน่วยงาน ซึ่งช่วยให้การทำงานคล่องตัวและเป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างหน่วยงาน ปัจจุบันเราใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาให้เหมาะสมกับงานทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดเก็บเอกสารด้วยเครื่องจัดเก็บ และค้นหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โปรแกรมการจัดการเอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้นประเภทของเอกสาร เอกสารที่ใช้ในการปฏิบัติงานโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1. หนังสือเข้า หมายถึง เอกสารที่ได้รับจากหน่วยงานภายนอก หรือหน่วยงานอื่นทุกประเภทที่ส่งเข้ามายังสำนักงานจากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งทางไปรษณีย์หรือโดยพนักงานเดินเอกสารก็ตาม เอกสารเหล่านี้ได้แก่ จดหมาย ข้อความโทรเลขหรือโทรสาร เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานต้องให้ความสำคัญกับเอกสารเหล่านี้ และต้องเก็บรักษาไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานต่อไปในอนาคต เพราะเอกสารเหล่านี้จะมีส่วนสำคัญในการบริหารงานของหน่วยงาน
2. หนังสือออก เป็นเอกสารที่หน่วยงานจัดทำขึ้น แล้วส่งไปให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการส่งทางไปรษณีย์หรือโดยพนักงานเดินเอกสาร เพื่อติดต่อประสานงานเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นภายในสำนักงานเอง เช่น สำเนาจดหมายออก ใบแจ้งหนี้ รายงานต่าง ๆ งบการเงิน และสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น หนังสือเหล่านี้ทำขึ้นโดยมีสำเนาอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ต้นฉบับเป็นฉบับที่ส่งไปให้แก่ผู้รับ ส่วนสำเนาเป็นฉบับที่ใช้เก็บและใช้เป็นหลักฐานของหน่วยงานต่อไป
3. หนังสือติดต่อภายใน หมายถึง เอกสารที่ใช้ติดต่อระหว่างแผนก หรือฝ่าย ภายในองค์กรนั่นเอง โดยทั่วไปมักจะมีแบบฟอร์มซึ่งออกไว้ใช้สำหรับกิจการหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ หนังสือชนิดนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้การทำงานของหน่วยงานนั้นมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นเอกสารที่หน่วยงานต้องการแจ้งพนักงานให้ทราบ เช่น คำสั่ง ประกาศ เป็นต้น เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานต่อไปได้ หนังสือติดต่อภายในของราชการเป็นหนังสือที่ใช้ติดต่อกัน ภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน โดยมีลักษณะเป็นบันทึกข้อความนอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทเอกสารตามลักษณะความสำคัญอีก 4 ประเภทดังนี้
1.1 เอกสารสำคัญมาก
1.2 เอกสารสำคัญ
1.3 เอกสารที่มีประโยชน์
1.4 เอกสารเบ็ดเตล็ด
การบริหารงานเอกสารหรือการจัดการเอกสารการบริหารงานเอกสารหรือการจัดการเอกสาร (Records Management) หมายถึง งานซึ่งเกี่ยวกับการเก็บข้อมูล เพื่อช่วยเพิ่มความจำในงานสำนักงานและการตัดสินใจทุกระดับของผู้บริหารในทุกองค์กร จำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบเพื่อความถูกต้องของการปฏิบัติงาน การบริหารเอกสาร เป็นการดำเนินงานเอกสารให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามลำดับขั้นตอน คือ การวางแผน การกำหนดหน้าที่ โครงสร้าง การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดระบบการจัดเก็บเอกสาร การเก็บรักษา การควบคุมและการทำลายเอกสาร การบริหารงานเอกสารเป็นหัวใจสำคัญยิ่งของการดำเนินงาน เพราะถ้าสามารถบริหารงานเอกสารให้มีประสิทธิภาพแล้วก็จะสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานให้ต่ำลงได้ โดยควรมีการกำหนดนโยบายการบริหารงานเอกสารไว้ และมีหลักการที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงปริมาณหนังสือเอกสารในปัจจุบันแล้ว ยังต้องคำนึงถึงระบบที่สามารถขยายได้ในอนาคตไม่ต้องแก้ไข เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ด้วยการตัดสินใจว่าหน่วยงานแต่ละหน่วยงานซึ่งมีวัตถุประสงค์หรือประเภทของการประกอบการต่างกัน ควรตัดสินใจใช้ระบบใดในการเก็บเอกสาร เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบต้องมีการศึกษาว่าระบบใด จึงจะทำให้การปฏิบัติงานการจัดเก็บเอกสารมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งอาจสรุปได้ว่าการบริหารงานเอกสารเป็นศูนย์รวมของการบริหารทั้งมวล เป็นกิจกรรมที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมวงจรชีวิตของเอกสาร ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการทำลายเอกสารวงจรเอกสาร (The Document Cycle)ถ้าผู้บริหารสามารถจัดการกับงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะทำให้ต้นทุนในการจัดเก็บเอกสารลดลงได้ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสารมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องดำเนินการอย่างมีระเบียบแบบแผน อันจะก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผลในการทำงาน
1.) การผลิต (Creation) เอกสารที่เข้ามาในสำนักงานจากแหล่งต่าง ๆ หรือการผลิตเอกสารขึ้นมาเอง ในการทำให้เอกสารเกิดขึ้นนี้ถือเป็นชั้นกำเนินของเอกสารตั้งแต่ การคิด ร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ ทำสำเนา การอัดสำเนา ถ่ายเอกสาร เพื่อใช้งานในสำนักงานในรูปจดหมายโต้ตอบ บันทึกข้อความ และงานพิมพ์ต่าง ๆ เอกสารจะถูกสร้างขึ้นมาจากภายนอกองค์กร และภายในองค์กร ทำให้มีเอกสารมากมายหลายประเภท
2.) การใช้ประโยชน์ (Utiliaztion) เป็นขั้นตอนที่เอกสารได้ผ่านการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร การไหลผ่าน (Flow) ของเอกสารจะเป็นไปตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแต่ละองค์กร โดยจะต้องดูแลประโยชน์เอกสารแต่ละประเภทซึ่งมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกัน เอกสารบางชิ้นยังไม่มีประโยชน์ในการนำข้อมูลมาใช้ในโอกาสต่อไป และบางชิ้นมีความจำเป็นต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง ขั้นตอนนี้คือการพัฒนาระบบการเดินทางของเอกสาร ให้มีลักษณะคล่องตัว สามารถเรียกใช้และจัดส่งถึงที่ในเวลาที่ต้องการ
3.) การจัดเก็บ (Storage) เมื่อดำเนินการผลิตเอกสารขึ้นมาและดำเนินการที่จำเป็นแล้วสำเนาเรื่องเดิมหรือเอกสารที่จำเป็นต้องนำไปแยกเป็นประเภท หรือเป็นกลุ่ม ตามหมวดแฟ้มที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ มีระเบียบ เอกสารต้องไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้ภายหลัง โดยต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าให้พร้อม คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่จัดเก็บ อุปกรณ์สำหรับการเก็บ ระบบในการจัดเก็บเอกสาร ขั้นตอนปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสาร โดยจัดทำคู่มือไว้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และจัดให้มีที่เก็บรักษาเอกสารอย่างเพียงพอ
4.) การเรียกใช้หรือการสืบค้น (Retrieval) งานจัดเก็บเอกสารมีบทบาทในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก เพราะการได้ข้อมูลอย่างรวดเร็วจะทำให้การตัดสินใจสามารถทำได้ทันที เอกสารต่าง ๆ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาของผู้บริหารและการวางแผนในอนาคต ข้อมูลในเอกสารจะต้องถูกนำมาพิจารณาประกอบการวางแผนและการตัดสินใจ ทั้งนี้การเรียกใช้หรือการสืบค้น จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
5) การกำหนดสภาพ (Disposition) การจัดเก็บเอกสารเป็นการรักษาเอกสารสำคัญเอาไว้ เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ จึงต้องมีการจัดการอย่างรัดกุม มีขั้นตอนการกำจัดเอกสารเมื่อมีอายุนานพอสมควร หรือได้จัดเก็บไว้จนครบตามที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับระบุไว้ เมื่อจัดเก็บไว้จนคุณค่าหรือประโยชน์ในการอ้างอิงมีน้อย ก็จำเป็นต้องดำเนินการกำจัดหรือคัดเลือกออกไปเพื่อดำเนินการทำลาย อาจมีการตั้งคณะกรรมการในการทำลาย เพื่อช่วยในการพิจารณาคัดกรองเอกสารเหล่านั้น
ขั้นตอนในการจัดเก็บเอกสาร
1. การเตรียม คัดแยก จัดเอกสาร
2. การสร้างโครงสร้างในการจัดเก็บเอกสาร
3. การสแกนเอกสาร
4. การปรับแต่งเอกสารในเครื่องสแกน
5. การตรวจสอบคุณภาพของเอกสาร
6. การนำเอกสารเข้าระบบเข้าสู่เครื่องระบบซอฟท์แวร์
7. การจัดเอกสารต้นฉบับในสภาพเดิม
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเอกสาร
1. สามารถทำงานและการค้นหาเอกสารได้รวดเร็ว และถูกต้องมากขึ้น
2. ประหยัดเวลาในการคัดแยกเอกสาร โดยรายละเอียดส่วนใหญ่ถูกบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครื่องสแกนเนอร์
3. สามารถบริหารงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเอกสารไว้ในตู้ แฟ้ม กระดาษ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในระบบจัดเก็บเอกสาร โดยจัดเก็บในรูปแบบของเอกสารอิเลคทรอนิคส์ ในระบบคอมพิวเตอร์
6. ผู้ใช้ระบบสามารถเรียกค้นการเอกสารได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
7. ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ลดความซ้ำซ้อนในการเก็บเอกสาร

รายงานการประชุม

(ตัวอย่างรายงานการประชุม)
รายงานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี
ครั้งที่ 3/2551
วันที่ 9 กันยายน 2551
ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเกษตรธานี
--------------------------------

ผู้มาประชุม
1.นายวาระ แห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเกษตรธานี ประธานกรรมการ
2. นางเภสัช สุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
3. นายพัฒนา ชุมชน พัฒนาการจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
4. นายสังคม มั่นคง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเกษตรธานี
กรรมการ
5. นางพาณิชย์ เศรษฐกิจ พาณิชย์จังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
6. นายมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
7. นายภาษี สรรพากร สรรพากรจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
8. นายสหกรณ์ การเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร สาขาจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
9. นางออมสิน ธนากิจ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขาจังหวัดเกษตรธานี กรรมการ
10. นายพึ่งพา ตนเอง กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน กรรมการ
11. นางกระจาย โอกาส กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
12. นายแผน พัฒนา กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
13. นายวิถี ท้องถิ่น กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
14. นายเศรษฐี พอเพียง กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
16. นายเครือ วิสาหกิจ กรรมการผู้แทนวิสาหกิจชุมชน
17 นายบริหาร ธุรกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบริหารธุรกิจ
18. นายเงิน ร่ำรวย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการเงิน
19. นายการค้า อุตสาหกรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการค้าและอุตสาหกรรม
20 นายเกษตร ส่งเสริม เกษตรจังหวัดเกษตรธานี กรรมการและเลขานุการ





ผู้เข้าร่วมประชุม
1. นายเสริม วิชาการ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับชำนาญการ
สำนักงานเกษตรจังหวัดเกษตรธานี
2. นายช่วย เชี่ยวชาญ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ระดับปฏิบัติการ
สำนักงานเกษตรจังหวัดเกษตรธานี

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
นายวาระ แห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเกษตรธานี ประธานฯ กล่าวเปิดประชุมและให้ข้อคิดเห็นแก่คณะกรรมการฯ ว่า
1. การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3/2551 เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ปี 2551
2. การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในปี 2552 จะต้องบูรณาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น จึงจะขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัตติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ได้
มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด
เกษตรธานี ครั้งที่ 2/2551
นายเกษตร ส่งเสริม เกษตรจังหวัดเกษตรธานี เลขานุการฯ เสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเกษตรธานี ครั้งที่ 2/2551 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเกษตรธานี
มติที่ประชุม รับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี ครั้งที่ 2/2551 วันที่ 17 มิถุนายน 2551

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 2/2551
เรื่องที่ 3.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
เลขานุการฯ รายงานต่อที่ประชุมว่า ตามที่ที่ประชุมครั้งที่ 2/2551 ได้มีมติให้เพิ่มคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี และคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอำเภอทุกอำเภอ นั้น
คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานีได้มีคำสั่งแต่งตั้งนายบริหาร องค์การ ผู้อำนวยการกองแผนงานและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเกษตรธานี เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี และแต่งตั้งผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุก
อำเภอและกิ่งอำเภอ เป็นอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอำเภอ
มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 3.2 การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เลขานุการฯ รายงานว่า สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ 2/2551 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนได้พิจารณาแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จำนวน 35 วิสาหกิจชุมชน ที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุน และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนแผนดังกล่าว โดยให้สำนักงานเลขาฯ เป็นผู้ติดตามผลการดำเนินงานและให้เสนอความก้าวหน้าในการประชุม ครั้งที่ 3/2551 นั้น
สำนักงานเลขาฯ ได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานแล้ว พบว่าแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลโดยละเอียด ซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่สามารถนำเสนอในการประชุมครั้งนี้ได้ จึงขอนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 3.3 โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่แหล่งทุน
เลขานุการฯ รายงานความก้าวหน้าโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเข้าสู่แหล่งทุนว่า มีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 24 วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจชุมชนผ่านเวทีเรียนรู้แผนธุรกิจแล้ว จำนวน 19 วิสาหกิจชุมชน มีการขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ จำนวน 10 วิสาหกิจชุมชน ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว จำนวน 3 วิสาหกิจชุมชน ที่เหลืออีก 7 วิสาหกิจชุมชน อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ
มติที่ประชุม รับทราบ
เรื่องที่ 3.4 โครงการแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเทิดไท้ 80 พรรษา
มหาราชา
เลขานุการฯ รายงานว่า ได้นำผู้แทนวิสาหกิจชุมชนจำนวน 22 คน ไปศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนฯ ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 และได้รายงานผลการดูงานตลอดจนข้อเสนอแนะและปัญหา/อุปสรรคให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ
มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อทราบ
เรื่องที่ 4.1 สรุปประเด็นจากการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอำเภอ
เลขานุการฯ สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอำเภอ ครั้งที่ 3/2551 ของอำเภอต่างๆ ดังนี้
1. สำนักงานเกษตรอำเภอมีการส่งรายงานการประชุมฯ จำนวน 12 อำเภอ ไม่ได้ส่งรายงานจำนวน
2 อำเภอ เนื่องจากไม่ได้จัดประชุม เพราะไม่มีประเด็นที่จะนำเข้าที่ประชุม
ที่ประชุมได้อภิปรายในเรื่องที่บางอำเภอไม่ได้จัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจากไม่มีประเด็นที่จะนำเข้าที่ประชุม และมีข้อสรุปว่าควรสร้างความเข้าใจเรื่องความสำคัญของการประชุมและการใช้การประชุมเป็นกลไกขับเคลื่อนงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนประเด็นเนื้อหาที่ควรบรรจุในการประชุมซึ่งเป็นประเด็นจากการปฏิบัติงานปกติในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะการสนับสนุนการเรียนรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และการพิจารณาให้การสนับสนุนตามแผนฯ แก่วิสาหกิจชุมชนในอำเภอ
มติที่ประชุม ให้สำนักงานเลขาฯ พิจารณาดำเนินการสร้างความเข้าใจให้สำนักงานเกษตรอำเภอต่างๆ
2. ปัญหา/อุปสรรคในการปฏิบัติงาน
1) การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ควรดำเนินการเป็นทีม โดยมีเลขานุการคณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอำเภอเป็นผู้วางแผนและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แล้วออกประเมินฯ เป็นทีม แต่ในการปฎิบัติจริง มีเพียงทีมของเลขานุการฯ คือสำนักงานเกษตรอำเภอเท่านั้นที่ออกประเมิน ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ เท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีงบประมาณสนับสนุน
ทำให้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ได้ยาก นอกจากนั้น หน่วยงานอื่นๆ ยังมีภารกิจมาก และมีความเข้าใจว่างานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเป็นงานของกรมส่งเสริมการเกษตร
มติที่ประชุม ให้แต่งตั้งคณะทำงานประเมินศักยภาพฯ ประกอบด้วย เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน ธ.ก.ส. สาขา ตัวแทน อ.บ.ต. และตัวแทนจากสำนักงานเกษตรอำเภอ ตลอดจนแต่งตั้งผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ในอำเภอ 1-3 วิสาหกิจชุมชนร่วมเป็นคณะทำงานด้วย
2) การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนตามงบประมาณโครงการของหน่วยงานต่างๆ ไม่ค่อยสอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจชุมชน
มติที่ประชุม ควรจัดสัมมนาบูรณาการแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนทุกอำเภอ โดยขอให้สำนักงานเลขาฯ พิจารณาจัดทำแผนและรายละเอียดการดำเนินการ มานำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
3. ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางาน
1) ควรมีการปรับปรุงแบบประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน โดยคำนึงถึงผู้ประเมินซึ่งเป็นชาวบ้านในชุมชน ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น จะทำให้ได้ผลการประเมินฯ ที่เที่ยงตรงมากขึ้น
2) ควรเสนอคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้กำหนดนโยบายและแนวทางในการสร้างความเข้าใจเรื่องแนวคิดและกระบวนวิสาหกิจชุมชน ให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้ปฏิบัติงานทุกระดับและชาวบ้านในชุมชน
มติที่ประชุม ให้เลขานุการฯ นำเสนอสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อเสนอคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ต่อไป
เรื่องที่ 4.2 รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
1. การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน สรุปผลการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนของ 12 อำเภอตามรายงานการประชุมฯ รวมกับการติดตามข้อมูลจากอำเภอที่ไม่ได้จัดประชุม มีการจดทะเบียนฯ 1,672 แห่ง เครือข่าย 8 เครือข่าย
2. การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน สรุปผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของ 12 อำเภอตามรายงานการประชุมฯ รวมกับการติดตามข้อมูลจากอำเภอที่ไม่ได้จัดประชุม มีการประเมินฯ แล้ว 1,049 แห่ง อยู่ในระดับดี 351 แห่ง ระดับปานกลาง 507 แห่ง ระดับปรับปรุง 191 แห่ง
3. การทำแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชน สรุปผลการทำแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของ 12 อำเภอตามรายงานการประชุมฯ รวมกับการติดตามข้อมูลจากอำเภอที่ไม่ได้จัดประชุม มีการจัดทำแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแล้ว 540 วิสาหกิจชุมชน
4. การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาคีได้มีการรายงานการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนตามรายละเอียดในเอกสารที่แนบมาพร้อมรายงานนี้
มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเพื่อพิจารณา
เรื่องที่ 5.1 แผนปฎิบัติการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี
เลขานุการฯ เสนอต่อที่ประชุมว่า คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานีได้จัดทำยกร่างแผนปฎิบัติการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี ปี 2552-2553 ประกอบด้วย 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการรณรงค์สร้างความเข้าใจแนวคิดและกระบวนการวิสาหกิจชุมชน
2. โครงการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. โครงการศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
4. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
และขอให้ที่ประชุมพิจารณาแผนปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี ปี 2552-2553
มติที่ประชุม เห็นชอบแผนปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี ปี 2552-2553 โดยให้เลขานุการฯ ปรับกิจกรรมตามข้อเสนอของที่ประชุม
เรื่องที่ 5.2 ข้อเสนอแนะเพื่อให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติ
ที่ประชุมได้อภิปรายถึงปัญหา/อุปสรรคในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ที่ควรได้รับการแก้ไขในภาพรวมระดับประเทศ และได้สรุปแนวทางเพื่อนำเสนอคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้กำหนดเป็นมาตรการระดับชาติต่อไป ได้แก่
1. การเป็นนิติบุคคล ควรมีการแก้ไข พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ให้วิสาหกิจชุมชนเป็นนิติบุคคล เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
2. การเสียภาษี ควรมีการผ่อนปรนภาษีสำหรับวิสาหกิจชุมชนตามขนาดของธุรกิจ
3. กองทุนวิสาหกิจชุมชน ควรจัดตั้งกองทุนวิสาหกิจชุมชนระดับชาติ
4. การต่อทะเบียน ควรออกระเบียบเพิ่มเติมในการต่อทะเบียน ให้สามารถต่อทะเบียนได้เฉพาะวิสาหกิจชุมชนที่มีการดำเนินธุรกิจที่เป็นของชุมชนจริงๆ
5. คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ควรเพิ่มผู้แทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด
มติที่ประชุม เห็นชอบและให้เลขานุการฯ ผลักดันให้มีการนำเสนอมาตรการดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ต่อไป

ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
เรื่องที่ 6.1 การดูงานวิสาหกิจชุมชนตำบลห้วยทอง อำเภอดีเลิศ
เลขานุการฯ แจ้งว่า หลังจากการประชุมฯ ขอเชิญกรรมการฯ และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน
ร่วมทัศนศึกษาดูงานการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนตำบลห้วยทอง อำเภอดีเลิศ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์จากการดูงานมาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนต่อไป
ประธานฯ ขอให้กรรมการจากหน่วยงานต่างๆ นำผลจากการดูงานครั้งนี้ มาอภิปรายกันในการประชุมครั้งต่อไปด้วย
มติที่ประชุม รับทราบ

เลิกประชุมเวลา 12.20 น.


(ลงชื่อ) เสริม วิชาการ ผู้จดรายงานการประชุม
(นายเสริม วิชาการ)
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับชำนาญการ

(ลงชื่อ) เกษตร ส่งเสริม ผู้ตรวจรายงานการประชุม
(นายเกษตร ส่งเสริม)
เกษตรจังหวัดเกษตรธานี
เลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเกษตรธานี